Skip to content
FFC Color PNG

ระบบ FFC Thailand สำหรับนักวิจัย

การยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์รูปแบบ FFC นั้น นักวิจัยจะต้องยื่นเอกสารข้อมูลต่างๆผ่านระบบ Platform Online ทั้งหมด
โดยผู้ประกอบการจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นขอรับรอง ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้ ดังนี้

แนวทางปฏิบัติในการยื่นขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์ FFC Thailand

FFC Thailand คืออะไร

Food with Function Claims (FFC) คือ ระบบการยื่นขอจดแจ้งเพื่อขอกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ของสารสำคัญในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่มีผลต่อสุขภาพในเชิงบวก โดยอาศัยข้อมูลหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จากการทดสอบทางคลินิก (Clinical Trials) หรือ รายงานผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ของสารสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งทางผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดทำข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาและคำอธิบายบนฉลาก และระบบการรวบรวมและรายงานอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น

ระบบ FFC Thailand จะเป็นการยื่นขอจดแจ้งการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ของสินค้าเกษตรและอาหาร โดยใช้ระบบ Platform Online (One contact point) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอจดแจ้งได้สะดวกและจะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมผ่านข้อมูลที่ถูกต้องในระบบออนไลน์ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาด (Post Marketing Surveillance) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย

ขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่สามารถยื่นขอจดแจ้ง FFC

  • ผลิตผลทางการเกษตร ครอบคลุมสินค้าเกษตรสดซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ประมงและปศุสัตว์ สินค้าเกษตร เช่น ผัก/ผลไม้ตัดแต่ง อาหารปรุงสด เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องมีกระบวนการเพาะปลูก/เพาะเลี้ยงที่มีมาตรฐานความปลอดภัย เช่น GAP (Good Agricultural Practice)
  • ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป (ที่เติมและไม่เติมสารสกัด) ได้แก่ อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท, อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ที่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ได้รับอนุญาตการออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

หมายเหตุ : กรณีที่เป็นอาหารใหม่ (Novel food) ต้องยื่นผลการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐานมาประกอบการยื่นขอจดแจ้งการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ในระบบ FFC Thailand

ผู้ประกอบการที่เข้าข่าย

ผู้ประกอบการด้านอาหาร (รวมไปถึง Functional ingredients) ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตั้งแต่ เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง

เงื่อนไขของ FFC

การกล่าวอ้างทางสุขภาพ รูปแบบ FFC ผลิตภัณฑ์นั้นจำเป็นต้องมีสารเชิงหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้านโภชนาการหรือสรีรวิทยา โดยต้องมีเอกสารหลักฐานเพียงพอในการพิสูจน์ยืนยันผลของการกล่าวอ้างนั้นๆ กับความสัมพันธ์ต่อสุขภาพ โดยต้องเป็นการศึกษาในมนุษย์ที่มีสุขภาพดี (Healthy population) ที่ไม่ได้มีผลกระทบจากโรค (บุคคลที่วินิจฉัยแล้วว่ามีอาการไม่รุนแรงตามเกณฑ์อย่างเป็นทางการ) เช่น กรณี NCDs ที่มีค่าน้ำตาลในเลือด หรือมีค่าไตรกลีเซอไรด์แนวโน้มสูงแต่ไม่เข้าข่ายเป็นโรค และไม่รวมถึงเด็ก สตรีมีครรภ์ และมารดาให้นมบุตร และสามารถวัดได้ด้วยตัวชี้วัดที่เหมาะสม เอกสารหลักฐานต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและเป็นปัจจุบันที่ต้องไม่ทำให้เข้าใจว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ FFC สามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคได้

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เข้าข่าย

  • อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
  • อาหารทางการแพทย์
  • อาหารที่ต้องการกล่าวอ้างการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เอกสาร

แบบฟอร์ม

การตรวจสอบเบื้องต้น

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลประวัติการบริโภคเป็นอาหารและความปลอดภัย

ข้อมูลการควบคุมคุณภาพและการผลิต

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการพิสูจน์เชิงหน้าที่

ข้อมูลการแสดงฉลาก

การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ

XHVrhADkTQbKbsr66N52jZCc
ประกาศกระทรงสาธารณสุข ฉบับที่ 447
เรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารบนฉลาก
Firn logo-01
Thailand Proposed Positive List
เอกสารรวบรวมข้อมูลสารสำคัญและส่วนประกอบอาหารเชิงฟังก์ชัน
Untitled design (14)
ฐานข้อมูลสินค้าเกษตร
  • พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร
  • มาตรญาน GAP (Good Agriculture Practice)
  • มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
  • Untitled design (15)
    ฐานข้อมูลกฎหมายและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ
    • ฐานข้อมูลกฎหมายและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ
    Untitled design (16)
    ฐานข้อมูล Systematic Review และ Clinical Trials​
    • ฐานข้อมูลการค้นหาการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review: SR)
    • ฐานข้อมูลงานวิจัยเชิงคลินิก (Clinical Trials: CT)
    Untitled design (17)
    ฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (E-Thesis)
    • ฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย
    • ฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐ
    • ฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น
    Untitled design (19)
    ฐานข้อมูลศูนย์วิจัยทางคลินิกในประเทศไทย
    • รายชื่อหน่วยงานและสถาบันวิจัย
    Untitled design (21)
    ฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารสำคัญด้านอาหาร
    • รายชื่อสถานที่ห้องปฏิบัติการที่มีการตรวจวิเคราะห์ด้านอาหาร ที่ได้รองรับ ISO/IEC 17025 และไม่มีการรับรอง
    Untitled design (22)
    ฐานข้อมูลวิธีทดสอบและอื่นๆ
    • เอกสารข้อมูลวิธีวิเคราะห์อาหาร
    • ตัวอย่างวิธีการทดสอบสารสำคัญและส่วนประกอบอาหารเชิงฟังก์ชัน (Functional Ingredient)
    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย
     ทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคการผลิต สมาคมและสถาบันการศึกษา ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสารทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหารของประเทศไทย ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหรอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของนักวิชาการด้านอาหารของทั้งภาครัฐและเอกชน
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
     เป็นส่วนราชการ มีฐานะการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์
    สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
      มีภารกิจเป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยกำหนด ตรวจสอบรับรอง ควบคุม และส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค ตลอดจนการเจรจาแก้ไขปัญหาทางการค้าเชิงเทคนิค เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
    หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
     จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์
    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
     เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งของการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าด้านการเกษตรของประเทศ พัฒนาเครือข่ายงานวิจัยและขยายผลเพื่อพัฒนาและยกระดับการเกษตรของประเทศ สร้างและยกระดับศักยภาพบุคลากรวิจัยเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยทางเกษตรให้มีคุณภาพ พัฒนาองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้ด้านดารวิจัยเกษตร
    NARO (National Agriculture and Food Research Organization)​
      The National Agriculture and Food Research Organization or NARO is the core institute in Japan for conducting research and development on agriculture and food.
    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
      สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อมุ่งเน้นการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสร้างองค์ความรู้และผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการขยายเครือข่ายวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
      เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการ เกษตรและภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
      เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีระบบบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบราชการ โดยส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม ยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
      เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ การริเรื่มขับเคลื่อนและประสาน การดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรม การให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม
    ITAP (Innovation and Technology Assistance Program)
      เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภารกิจหลักของ ITAP คือ การสร้างกลไกเชื่อมโยงผู้ให้บริการเทคโนโลยี (Technology Service Providers) เข้ากับผู้ใช้เทคโนโลยี (Technology Users) จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการวิจัยและพัฒนา เข้าไปให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาถึงในโรงงาน พร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ
    สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
      มีหน้าที่ในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการ อววน. ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ต่อคณะรัฐมนตรี และพิจารณากรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้าน อววน. ของประเทศ ก่อนที่สำนักงบประมาณจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี ส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์จากสภานโยบายฯ จะส่งต่อให้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา นำไปแปลงสู่การปฏิบัติให้สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน