FFC THAILAND
การกล่าวอ้างอาหารเชิงหน้าที่
Foods with Function Claims (FFC) คือ การยื่นขอจดแจ้งเพื่อขอกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ของสารสำคัญในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่มีผลต่อสุขภาพในเชิงบวก โดยอาศัยข้อมูลหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จากการทดสอบทางคลินิก (Clinical Trials) หรือ รายงานผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ของสารสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ โดยใช้ระบบ Platform Online (one contact point) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอจดแจ้งได้สะดวกและจะช่วยรับประกันการนำเสนอข้อมูล ต่อผู้บริโภคผ่านการแสดงฉลากอย่างถูกต้องเหมาะสม และอยู่บนหลักทางวิทยาศาสตร์ โดยการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่รูปแบบ FFC นี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาด (Post Marketing Surveillance) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย
ทำไมถึงต้องมีระบบ FFC
สินค้าเกษตรและอาหาร
สินค้าเกษตรและอาหารเป็นสินค้าหลักที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และ การจ้างงาน ในประเทศไทย
การยกระดับสินค้า
อาหารเชิงหน้าที่จะเป็น ตัวแปรสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทยสู่ตลาดอาหารมูลค่าสูง
กลไกในการขับเคลื่อน
ประเทศไทยยังไม่มีกลไกในการขับเคลื่อนอาหารเชิงหน้าที่ที่ชัดเจนเป็นระบบ และเป็นที่ยอมรับ
ระบบที่เป็นมาตรฐาน
พัฒนาระบบมาตรฐานรับรองอาหารมูลค่าสูง ยกระดับเกษตรกร ให้ผู้ประกอบการแข่งขันใน ระดับนานาชาติ
ขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่สามารถยื่นขอจดแจ้งในระบบ FFC Thailand
กรณีที่เป็นอาหารใหม่ (novel foods) ต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยและได้รับการอนุญาตแล้ว
กรณีที่เป็นอาหารใหม่ (novel foods) ต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยและได้รับการอนุญาตแล้ว
ผลิตผลทางการเกษตร
ครอบคลุมสินค้าเกษตรสดซึ่งรวมผลิตภัณฑ์ประมงและปศุสัตว์ สินค้าเกษตรแปรรูป ขั้นต้นเช่นผัก/ผลไม้ตัดแต่ง อาหารปรุงสด
ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป
(ที่เติมและไม่เติมสารสกัด)
(ที่เติมและไม่เติมสารสกัด)
อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท, อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ตัวอย่างข้อความกล่าวอ้างบนฉลากผลิตภัณฑ์
บนซองผลิตภัณฑ์ จะต้องมีข้อความ “มีสารสำคัญ…. ในปริมาณ…. ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค”
ซึ่งเป็นการระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหารนั้น