ระบบ FFC Thailand สำหรับนักวิจัย
การยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์รูปแบบ FFC นั้น นักวิจัยจะต้องยื่นเอกสารข้อมูลต่างๆผ่านระบบ Platform Online ทั้งหมด
โดยผู้ประกอบการจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นขอรับรอง ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้ ดังนี้
แนวทางปฏิบัติในการยื่นขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์ FFC Thailand
FFC Thailand คืออะไร
Food with Function Claims (FFC) คือ ระบบการยื่นขอจดแจ้งเพื่อขอกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ของสารสำคัญในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่มีผลต่อสุขภาพในเชิงบวก โดยอาศัยข้อมูลหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จากการทดสอบทางคลินิก (Clinical Trials) หรือ รายงานผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ของสารสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งทางผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดทำข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาและคำอธิบายบนฉลาก และระบบการรวบรวมและรายงานอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น
ระบบ FFC Thailand จะเป็นการยื่นขอจดแจ้งการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ของสินค้าเกษตรและอาหาร โดยใช้ระบบ Platform Online (One contact point) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอจดแจ้งได้สะดวกและจะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมผ่านข้อมูลที่ถูกต้องในระบบออนไลน์ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาด (Post Marketing Surveillance) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย
ขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่สามารถยื่นขอจดแจ้ง FFC
- ผลิตผลทางการเกษตร ครอบคลุมสินค้าเกษตรสดซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ประมงและปศุสัตว์ สินค้าเกษตร เช่น ผัก/ผลไม้ตัดแต่ง อาหารปรุงสด เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องมีกระบวนการเพาะปลูก/เพาะเลี้ยงที่มีมาตรฐานความปลอดภัย เช่น GAP (Good Agricultural Practice)
- ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป (ที่เติมและไม่เติมสารสกัด) ได้แก่ อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท, อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ที่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ได้รับอนุญาตการออกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
หมายเหตุ : กรณีที่เป็นอาหารใหม่ (Novel food) ต้องยื่นผลการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐานมาประกอบการยื่นขอจดแจ้งการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ในระบบ FFC Thailand
ผู้ประกอบการที่เข้าข่าย
ผู้ประกอบการด้านอาหาร (รวมไปถึง Functional ingredients) ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตั้งแต่ เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง
เงื่อนไขของ FFC
การกล่าวอ้างทางสุขภาพ รูปแบบ FFC ผลิตภัณฑ์นั้นจำเป็นต้องมีสารเชิงหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้านโภชนาการหรือสรีรวิทยา โดยต้องมีเอกสารหลักฐานเพียงพอในการพิสูจน์ยืนยันผลของการกล่าวอ้างนั้นๆ กับความสัมพันธ์ต่อสุขภาพ โดยต้องเป็นการศึกษาในมนุษย์ที่มีสุขภาพดี (Healthy population) ที่ไม่ได้มีผลกระทบจากโรค (บุคคลที่วินิจฉัยแล้วว่ามีอาการไม่รุนแรงตามเกณฑ์อย่างเป็นทางการ) เช่น กรณี NCDs ที่มีค่าน้ำตาลในเลือด หรือมีค่าไตรกลีเซอไรด์แนวโน้มสูงแต่ไม่เข้าข่ายเป็นโรค และไม่รวมถึงเด็ก สตรีมีครรภ์ และมารดาให้นมบุตร และสามารถวัดได้ด้วยตัวชี้วัดที่เหมาะสม เอกสารหลักฐานต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและเป็นปัจจุบันที่ต้องไม่ทำให้เข้าใจว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ FFC สามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคได้
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เข้าข่าย
- อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
- อาหารทางการแพทย์
- อาหารที่ต้องการกล่าวอ้างการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เอกสาร
แบบฟอร์ม
เรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารบนฉลาก
เอกสารรวบรวมข้อมูลสารสำคัญและส่วนประกอบอาหารเชิงฟังก์ชัน
- ฐานข้อมูลกฎหมายและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ
- ฐานข้อมูลการค้นหาการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review: SR)
- ฐานข้อมูลงานวิจัยเชิงคลินิก (Clinical Trials: CT)
- ฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย
- ฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐ
- ฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น
- รายชื่อสถานที่ห้องปฏิบัติการที่มีการตรวจวิเคราะห์ด้านอาหาร ที่ได้รองรับ ISO/IEC 17025 และไม่มีการรับรอง
- เอกสารข้อมูลวิธีวิเคราะห์อาหาร
- ตัวอย่างวิธีการทดสอบสารสำคัญและส่วนประกอบอาหารเชิงฟังก์ชัน (Functional Ingredient)
ทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคการผลิต สมาคมและสถาบันการศึกษา ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสารทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหารของประเทศไทย ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหรอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของนักวิชาการด้านอาหารของทั้งภาครัฐและเอกชน
เป็นส่วนราชการ มีฐานะการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์
มีภารกิจเป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยกำหนด ตรวจสอบรับรอง ควบคุม และส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค ตลอดจนการเจรจาแก้ไขปัญหาทางการค้าเชิงเทคนิค เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์
เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งของการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าด้านการเกษตรของประเทศ พัฒนาเครือข่ายงานวิจัยและขยายผลเพื่อพัฒนาและยกระดับการเกษตรของประเทศ สร้างและยกระดับศักยภาพบุคลากรวิจัยเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยทางเกษตรให้มีคุณภาพ พัฒนาองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้ด้านดารวิจัยเกษตร
The National Agriculture and Food Research Organization or NARO is the core institute in Japan for conducting research and development on agriculture and food.
สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อมุ่งเน้นการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสร้างองค์ความรู้และผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการขยายเครือข่ายวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง
เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการ เกษตรและภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีระบบบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบราชการ โดยส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม ยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ การริเรื่มขับเคลื่อนและประสาน การดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรม การให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม
เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภารกิจหลักของ ITAP คือ การสร้างกลไกเชื่อมโยงผู้ให้บริการเทคโนโลยี (Technology Service Providers) เข้ากับผู้ใช้เทคโนโลยี (Technology Users) จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการวิจัยและพัฒนา เข้าไปให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาถึงในโรงงาน พร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ
มีหน้าที่ในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการ อววน. ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ต่อคณะรัฐมนตรี และพิจารณากรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้าน อววน. ของประเทศ ก่อนที่สำนักงบประมาณจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี ส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์จากสภานโยบายฯ จะส่งต่อให้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา นำไปแปลงสู่การปฏิบัติให้สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน